นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น กล่าวถึงการการบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางถึงปลาย เพื่อนำไปสู่การผลิตไฟฟ้าของโรงงานกำจัดขยะเทศบาลนครขอนแก่น ว่าจำนวนปริมาณขยะ เฉพาะในเขตเทศบาลนครขอนแก่นเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว เรามีเฉลี่ยวันละประมาณ 210 ตัน คงตัวเลขนี้มาหลายปีพอสมควร หลังจากนั้นในปี 2560 เราก็สามารถก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าขยะแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าสำเร็จ เป็นแห่งแรกของภาคอีสาน โดยมีขีดความสามารถในการกำจัดขยะวันละ ประมาณ 450 ตัน เป้าหมายเดิมที่เดียวก็คือ แยกเป็นกำจัดขยะไม่ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันประมาณ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ประมาณ 210 ตัน และกำจัดขยะเก่า ซึ่งเป็นภูเขาขยะ ที่อยู่บ้านคำบอนวันละ 240 ตัน โดยเป้าหมายรวมดังกล่าวเราตั้งเป้าว่าขยะเก่าจะหมดไปภายใน 7-10ปี ตอนที่เราเริ่มสร้างโรงงานกำจัดขยะ
แต่หลังจากดำเนินการเสร็จรัฐบาลก็ประกาศเรื่องการจัดการขยะเป็นวาระแห่งชาติ จังหวัดก็ประกาศยุทธศาสตร์จังหวัดเป็นวาระจังหวัดในการดำเนินการ ดังนั้นโรงงานกำจัดขยะเทศบาลฯ ก็ต้องมารับภารกิจกับยุทธศาสตร์เหล่านี้ กับวาระจังหวัดเหล่านี้การที่ต้องเอื้อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกประมาณ 20 แห่ง นำขยะเข้ามากำจัดที่โรงงานของเทศบาลฯ ทำให้ปัจจุบันเราต้องรับภาระในการกำจัดขยะใหม่วันละ 400 ตัน ขยะเก่าสามารถดำเนินการวันละ 50 ตัน ก็ยังเพียงพอในการกำจัดขยะในภาพรวม เพราะทางจังหวัดได้จับกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆเป็นกลุ่มอำเภอ เฉพาะในเขตอำเภอเมืองจะมีเพิ่มอีก กลุ่ม 40กว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รวมตัวกัน อยากดำเนินการโรงงานกำจัดขยะที่แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าแห่งที่ 2 ซึ่งขณะนี้คณะกรรมระดับจังหวัดกำลังเดินหน้าในเรื่องนี้โดยจะมอบให้เทศบาลนครขอนแก่นเป็นเจ้าภาพ เป้าหมายก็จะให้บริษัทในกำกับของพวกเรา 5 เทศบาล คือ บริษัท KKTS ขอนแก่นทรานซิทซิสเต็ม จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ แทนทุกทุกเทศบาลในการดำเนินการ
ในภาพรวมจะเห็นได้ว่าในภาพรวมเป้าหมายที่ตั้งไว้กับสิ่งที่เกิดขึ้นมันก็ต่างไป เมื่อเราเห็นอย่างนี้ถึงแม้จะมีโรงกำจัดขยะของเทศบาล ที่ชัดเจน ไม่ก่อให้เกิดปัญหาขยะล้นเมืองเราก็ยังดำเนินการภายใต้ชื่อ ขอนแก่นโลคาร์บอนด์ซิตี้ หรือขอนแก่นหัวใจไร้มลพิษ สอดคล้องการเป็นสมาร์ทซิตี้ ภายใต้ปีกสมาร์ทเอ็นเวอร์ลอทเม้นต์ โดยการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ในการจัดการขยะเราจะมีต้นทาง กลางทาง ปลายทาง
ต้นทางก็คือ ทำการลดขยะตั้งแต่ต้นทาง ไม่ว่าจะเป็นขยะเปียก ขยะรีไซเคิล ภายใต้กิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น บุญทวีด้วยรีไซเคิล ก็คือการไปตั้งถังขยะที่เป็นตะแกรงให้พี่น้องประชาชนนำขยะที่รีไซเคิลได้เอาไปหย่อนใส่ตู้เหล่านั้น เราก็รวมขยะเหล่านั้นเอาไปขายแล้วเงินรายได้ก็เอาไปทำบุญ
ขณะเดียวกันก็ยังมีการรวมกลุ่มชมรมหัวใจไร้มลพิษ โดยให้แต่ละชุมชนจัดตั้งการจัดซื้อ หรือจัดเก็บรวบรวมขยะเก่าของชุมชนซึ่งเป็นขยะ 3R แล้วชุมชนก็สามารถนำเอาไปขายได้ คนที่นำมาให้ก็เป็นสมาชิก พอเสียชีวิตรายได้ที่เกิดจากการจำหน่ายขยะเหล่านี้ก็จะเป็นเงินเพื่อเป็นการฌาปณกิจ ส่วนขยะเปียกเราก็นำไปทำเป็นปุ๋ยโดยมีการนำถังเป็นปุ๋ยหมักเพื่อแยกขยะเปียก ขณะเดียวกันก็จัดตั้งเครือข่ายขยะจากต้นทาง ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าของเก่า พนักงานประจำท้ายรถขยะ กลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งหมดเหล่านี้เราสามารถเก็บขยะต้นทาง จากวันละ 210 ตัน เหลือวันละ 167 ตัน สามารถลดได้วันละ 30 กว่าตัน เหลือขยะนำไปกำจัดวันละ 167ตันเท่านั้น
ส่วนขบวนการกลางทาง เราก็มีระบบการเก็บขน การเก็บขนก็จะมีการกระจายอำนาจจากโครงการเทศบาลเล็กในเทศบาลใหญ่ ชุมชนที่เข้มแข็งจะมีการเก็บขน 3 ลักษณะ 1 เทศบาลเก็บขนเอง 2 ชุมชนที่เข้มแข็งก็มารับขยะเทศบาลไปช่วยในการเก็บขน กระจายอำนาจให้เงินอุดหนุนสามารถลุกขึ้นมาดูแลแก้ไขปัญหา กลุ่มที่ 3 ก็คือภาคเอกชน โดยหาบริษัทเอกชนมาช่วยในการเก็บขนด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพไม่ให้มีขยะตกค้างในเขตเทศบาลนครขอนแก่นส่วนขบวนการปลายทางในขณะนี้เป็นขบวนการสมบูรณ์แล้ว คือโรงงานกำจัดขยะ ของเทศบาลนครขอนแก่นได้โดยเรียบร้อยอย่างไม่มีปัญหา
สำหรับโรงงานกำจัดขยะตั้งแต่เปิดดำเนินการยังไม่มีปัญหาในการจัดการขยะแต่อย่างใด ไม่ต้องปิดโรงงานเพราะเทคนิคไม่ได้เรื่องไม่มีเหตุการณ์นั้นเลย ในด้านมลพิษ การควบคุมมลพิษของกรมควบคุมมลพิษมีการเชื่อมสัญญาณแบบเรียลไทม์ ทางด้านหน้าโรงงานก็มีจอแอลอีดี เพื่อจะบอกว่าค่าสารไดอ๊อกซีล ค่าสารต่าง ๆ ที่มาตรฐานระบุไว้เท่าไหร่ แต่โรงงานที่มาดำเนินการอย่างนี้จะต้องมีการดูแลพี่น้องประชาชนที่อยู่รอบโรงงานด้วย โดยการจัดให้มีเงินอุดหนุนจำนวนหนึ่ง ปีละหลายแสนบาท ให้พี่น้องประชาชนที่รอบโรงงานขยะนำไปใช้เพื่อกิจกรรมสาธารณะ
ประการสุดท้าย โรงงานขยะตั้งแต่มีการก่อสร้างขยะต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมจะนำไปเทกองที่ภูเขาขยะ ตอนนี้เราปิดแล้ว ขยะใหม่ทั้งหมดต้องเข้าโรงงาน รถขยะเมื่อไปถึงก็เข้าไปเทขยะในบ่อที่จัดเตรียมเอาไว้ พักขยะเอาไว้ 7 วัน จนน้ำชักขยะออกเกือบหมด จึงนำขยะออกไปเผา และแปลงเป็นไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งขณะนี้สามารถจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าได้แล้ว จำนวน 4.5 เม็กกะวัตต์
ภายใต้การบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพทำให้เกิดการผลิตพลังงานไฟฟ้าส่งให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสร้างรายได้ให้กับชาวเทศบาลนครขอนแก่น โดยการสะท้อนมุมมองของโครงการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่นต่อพลังงานไฟฟ้าจากขยะ (Waste Side Story)” ครั้งที่ 3 ดำเนินการโดยศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center – ENC) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อกิจการตามมาตรา 97 (5) ปีงบประมาณ 2562 ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)
นัสฐริกา คำซาว