วันเสาร์, 30 พฤศจิกายน 2567

กฟผ.จัดกิจกรรม”โครงการภูมิชุมชน” พัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนและเครือข่ายชุมชนมุ่งสู่เป้าหมายแบบยั่งยืนในภูมิภาคอีสาน

    เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2563 ณ ห้องประชุมอาคารประชาสัมพันธ์เขื่อนอุบลรัตน์จังหวัดขอนแก่น ได้มีการจัดกิจกรรม”โครงการภูมิชุมชน” พัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนและเครือข่ายชุมชนมุ่งสู่เป้าหมายแบบยั่งยืน โดยได้นำนักศึกษาจาก วิทยาลัยพัฒนศาสตร์  ป๋วยอึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา นักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประมาณ 60 คน ร่วมทำกิจกรรมและลงพื้นที่ทำแบบประเมินผลลัพธ์ทางสังคม  ที่ผ่านมา กฟผ.ได้ให้การสนับสนุนชุมชนเป็นสำเร็จหลายด้านเช่น  การ

จัดหาแหล่งน้ำ ส่งเสริมการประกอบอาชีพทางการเกษตร ส่งเสริมการปลูกป่าชุมชน ส่งเสริมการดูแลทางด้านสุขภาพ เป็นต้น โดยเฉพาะในพื้นที่บ้านห้วยยางศีวิลัย บ้านนางิ้ว-นาโพธิ์  บ้านดงบัง บ้านโคกสี อ.เขาสวนกวาง ขอนแก่น ซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้ตามแนวสายส่งของ กฟผ.โดยมี ดร.พรพงษ์ สุขยางค์ ปอประพันธ์ หัวหน้ากองจัดการโครงการ เพื่อความยั่งยื่น กฟผ. และทีมวิทยากร จากวิทยาลัยพัฒนศาสตร์  ป๋วยอึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ให้ความรู้และเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน รวมถึงการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

          ทางด้าน  ดร.พรพงษ์ สุขยางค์ ปอประพันธ์ หัวหน้ากองจัดการการโครงการ เพื่อความยั่งยื่น กฟผ. ได้เปิดเผยถึงที่มาของโครงการว่า  “โครงการภูมิชุมชนสี่ภาค  เป็นความร่วมมือระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ร่วมกับวิทยาลัยพัฒนศาสตร์  ป๋วยอึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชน 4 ภาค ตามแนวศาสตร์พระราชา ให้ความรู้และเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน การเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยในครั้งนี้  ได้นำนักศึกษาเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ  ในภาคสนาม 60 คน  ในการปฏิบัติการ เรื่อง กระบวนการทำงานพัฒนาชุมชนเชิงรุกเพื่อสร้างความยั่งยืนในพื้นที่ 4 ภาค  เพื่อต้องการพัฒนาชุมชนใกล้แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง  กฟผ.  โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพชัวิต ของคนในชุมชน  ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของแต่ละภาค  สำหรับภาคอีสานได้เลือกชุมชนที่อยู่ใกล้แนวสายส่งไฟฟ้า อำเภอเขาสวนกวางจังหวัดขอนแก่น  และพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งมีสายส่งไฟฟ้าแรงสูง

การเชื่อมโยงของสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กฟผ. เป็นรูปแบบคล้ายใยแมงมุม  ซึ่งเชื่อมต่อกันทั่วประเทศ  และการตั้งเสาและสายส่งต้องพาดผ่านไปตามพื้นที่ ไร่ นา ป่า เขา และในหลาย ๆ พื้นที่มีชุมชนอาศัยอยู่  กฟผ.  ได้เข้าไปร่วมช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนร่วมกับชุมชนใกล้แนวสายส่ง  ให้คลายความเดือดร้อน

       ที่ผ่านมา กฟผ. ได้ช่วยแก้ปัญหาชาวบ้านในพื้นที่ภาคอีสานหลายชุมชน ปัญหาที่พบในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน   ส่วนใหญ่ภาคอีสานมีปัญหาเรื่อง ภัยแล้ง ป่าเสื่อมโทรม ดินเสื่อม เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม   ดังนั้น  จึงจำเป็นต้องแก้ไขอย่างเป็นระบบ  โดย  กฟผ.ได้ดำเนินการตามโครงการภูมิชุมชน  ซึ่งได้รับการสนับสนุนข้อมูลการพัฒนาด้านวิชาการจาก  วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย  อึ๊งภากร์มหาวิทยาลัยธรรมศษสตร์  ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาชุมชน และสร้างกระบวนการเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งตนเอง  ซึ่งได้ร่วมกันดำเนินการเพื่อสร้างต้นแบบการพัฒนาชุมชนตามบริบทเฉพาะใน 4 ภูมิภาค อีกทั้งได้น้อมนำศาสตร์พระราชาเป็นแนวทาง เพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน”  ดร.พรพงษ์ สุขยางค์ ปอประพันธ์ หัวหน้ากองจัดการการโครงการ เพื่อความยั่งยื่น กฟผ.กล่าว

Loading