วันพฤหัสบดี, 28 พฤศจิกายน 2567

รวมพลังธารน้ำใจ มข.ระดมน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดขอนแก่น 

รวมพลังธารน้ำใจ มข.ระดมน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดขอนแก่น 

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2564  ช่วงเลา 09.00-14.00น. ชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่นลงพื้นที่มอบสิ่งของจำเป็นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในเขตตำบลเมืองบึงเนียม บ้านบึงเนียม บ้านบึงสวางค์ บ้านคุยโพธิ์ และบ้านปากเปือย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  มีคณะผู้บริหารฯพนักงาน มข.บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น  เดินทางโดยขบวนรถรวมกว่า 20 คันได้นำสิ่งของเครื่องอุโภคบริโภคและของใช้ที่จำเป็นรวม 873 ชุด เพื่อนำมามอบแก่พี่น้องประชาชนที่เดือนร้อน ในเขตตำบลเมืองบึงเนียม บ้านบึงเนียม บ้านบึงสวางค์ บ้านคุยโพธิ์ และบ้านปากเปือย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ตามลำดับ  ในโครงการ “มหาวิทยาลัยขอนแก่น ห่วงใย ช่วยเหลือสังคม ในภาวะวิกฤต” มอบผู้ประสบภัย  ณ ตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

สำหรับคณะผูบริหารมหาวิทาลัยขอนแก่นที่ร่วมเดินทางในครั้งนี้นำโดย รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย รศ.เพียรศักดิ์ ภักดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ รศ.ดร.ลำปาง แม่นมาตย์ คณบดีวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ อ.ณัฐสมล ธนกุลรังสฤษฏิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ผศ.ณัฐพัชญ์ อนันต์ธีระกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ ผศ.ดร.พญ.วิยะดา ปัญจรัก รองผู้อำนวยการคลังเลือดกลาง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ รศ.ดร.อรทัย เพียยุระ  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผศ.ดร อารยา เชาว์เรืองฤทธิ์  คณบดีคณะเทคโนโลยี บุคลากรนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นต้น

              ทางด้าน รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิดเผยถึงเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการดำเนินการครั้งนี้ว่า  “มหาวิทยาลัยขอนแก่น รับรู้ถึงสถานการณ์ความเดือดร้อนของประชาชนชาวจังหวัดขอนแก่นที่มาจากอุทกภัย และจากการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความผูกพันกับประชาชน จึงอยากช่วยแบ่งเบาปัญหาความเดือดร้อนจึงก่อให้เกิดโครงการที่มาจากความร่วมมือของทุกฝ่ายรวมทั้งนักศึกษาโดยในรอบนี้เราสามารถช่วยได้จำนวน4หมู่บ้าน และยังเป็นการช่วยให้กำลังใจแก่ประชาชนในเบื้องต้น  ซึ่งการช่วยเหลือในระยะยาวนั้นทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นยังมีอีกหลายคณะวิชาที่พร้อมจะลงมาช่วยเหลือประชาชนหลังน้ำลด แต่หากสถานการณ์อุทกภัยยังไม่ดีขึ้นทางมหาวิทยาลัยก็อาจจะมีโครงการช่วยเหลือเพิ่มเติมได้อีก”

             

              ในส่วนของ อ.ณัฐสมล ธนกุลรังสฤษฏิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มข.ได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของบุคลากรและนักศึกษาฯ ในครั้งนี้ว่า “สำหรับโครงการนี้ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับความพร้อมใจกับจากทางบุคลากร มข.อย่างมากทุกหน่วยงาน ทุกๆคณะและน้ององค์กรนักศึกษา ประชาชนทั่วไป ก็ได้ร่วมสมทบทุนในการร่วมบริจาคในครั้งนี้ด้วย เดินทางร่วมกันเป็นคาราวานใหญ่เพื่อมามอบสิ่งของในครั้งนี้ เข้ามอบถุงยังชีพถึงมือชาวบ้านในพื้นที่จริงๆ ได้มาเห็นสภาพน้ำท่วมใน 4 หมู่บ้าน หลังน้ำลดเราจะมาช่วยฟื้นฟูสภาพอีกครั้งหนึ่ง โดยทาง มข.จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมทุกๆปี เพื่อช่วยเหลือพี่น้องชาวบ้าน ถือว่าเป็นภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการอุทิศตนเพื่อสังคม”

ด้าน นาย ณัฐพงศ์ เดชแพง นายกเทศมนตรีตำบลบึงเนียม กล่าวว่า ชาวตำบลบึงเนียมได้รับความเดือดร้อนแทบทุกครั้งที่มีภาวะน้ำมาก สำหรับในปีนี้เกิดขึ้นถึง 2 ระลอกคาดว่ามีประชาชนเดือดร้อนกว่า400ครัวเรือนต้องขอบคุณที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาในพื้นที่ได้รับรู้มองเห็นถึงความเดือดร้อนและได้ระดมความช่วยเหลือออกมาให้กับประชาชนครั้งนี้

ในส่วนของ นาย มงคล คำคนซื่อ นายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า ในฐานะที่ตนเองเป็นตัวแทนของนักศึกษาพวกเราเล็งเห็นถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือ อีกทั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมเราจึงรับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ในการอุทิศตัวเพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหา

“นักศึกษาได้ริเริ่มโครงการ มข.ปันน้ำใจช่วยภัยน้ำท่วมด้วยการเปิดรับน้ำใจมาอย่างต่อเนื่องนับแต่เริ่มเหตุการณ์และได้นำสิ่งของไปมอบแล้วถึง4ครั้ง สำหรับครั้งนี้ถือว่าเป็นโอกาสอันดีที่พวกเราจะได้ออกมาทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นนักศึกษาในสถาบันการศึกษาที่มีความตั้งใจที่จะดูแลประชาชนและสังคม นอกจากนั้นกิจกรรมครั้งนี้ยังก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ดีต่อนักศึกษาในการคิด การวางแผนการทำงานและการทำงานเป็นทีมการประสานงานกับภาคส่วนต่างๆเพื่อให้งานลุล่วง”

“สิ่งที่มีค่าสำหรับพวกเรามากคือประสบการณ์ที่เจอในชุมชนเราได้มาเห็นความเดือดร้อนและปัญหาที่แท้จริงของประชาชนซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ปัญหาจากภัยธรรมชาติ ยังมีอีกหลายสิ่งที่เราได้สัมผัสตรงจากการได้ออกมาทำกิจกรรมเพื่อสังคม  ซึ่งหาไม่ได้จากตำราในห้องเรียน”นาย มงคล คำคนซื่อ กล่าว

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีการดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือประชาชนทุกปีที่มีเหตุอุทกภัยในพื้นที่โดยเป็นการประสานการทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยรวมทั้งองค์การนักศึกษาซึ่งปีนี้ ได้ดำเนินกิจกรรมภายใต้ชื่อโครงการมหาวิทยาลัยขอนแก่น ห่วงใย ช่วยเหลือสังคมในภาวะวิกฤต ประจำปีงบประมาณ 2565ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ยังเป็นไปตามแนวทางยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2563 – 2566 ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การปรับเปลี่ยนการบริการวิชาการ (Academic Service Transformation)  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคม และการปรับเปลี่ยนการบริการวิชาการจากความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) สู่การสร้างคุณค่าร่วมกัน (Creating shared value : CSV)  โดยเกิดคุณค่าทั้งผู้ให้และผู้รับ

ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797 DNk79R.jpg Phh9Db.jpg sAyptI.jpg DasKLf.jpg Da2r0R.png DpkFp1.jpg banner1-08.gif Aqh3Ka.jpg Dp1Qd0.png 2wk8Dt.jpg 2wcwIv.jpg

Loading


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
โรงพยาบาลศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น เชิญชวนชาวขอนแก่นมาออกกำลังกายจัดตั้งฟิตเนส 07 FIT GYM ทันสมัย พร้อมจัดแข่งขันกรรเชียงบกเพื่อสุขภาพวัยทำงาน
ขอนแก่นยกเสาเอกบ้านมั่งคงศิลา แห่งแรกของภาคอีสานตามแผนพัฒนาริมทางรถไฟ นำร่อง 77 ครัวเรือน
ชาวขอนแก่นพร้อมใจรำอวยพรถวาย พระพรหมวชิรดิลก เจริญอายุวัฒนมงคล 79 ปี
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. จัดโครงการสัมมนาบทบาทภารกิจและผลดำเนินงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อยกระดับการกำกับกิจการพลังงาน การมีส่วนร่วม พร้อมรับมือยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ที่ จ.ขอนแก่น
ปอมท.มอบรางวัลพระราชทาน อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2567 ขณะที่ “ศุภชัย” ระบุระบบเอไอในงานวิจัยดีแต่ต้องวิจัยอย่างรอบคอบ เพราะมีทั้งคุณและโทษ
สมาคมไมซ์อีสานจับมือทีเส็บนำภาคีเครือข่ายจัดงาน Isan Silk & Craft Trade ดึงผู้ซื้อจากทั่วโลก ปั้นงานเทรดโชว์ไหมเสริมงานเทศกาลไหมและเมืองไหมขอนแก่น 28-30 พ.ย. นี้