สตช.ตั้งตำรวจไซเบอร์ที่ขอนแก่น จับนักเลงคีย์บอร์ด-ขบวนการหลอกลวงประชาชน ทั่วทั้งภาคอีสาน “อังกูร” ย้ำชัดทุกเรื่องต้องมีการตรวจสอบโดยเฉพาะกลโกงผ่านโซเชียลและโทรศัพท์มือถือ ป้องกันการตกเป็นเหยื่อให้กับกลุ่มมิจฉาชีพ
เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 12 พ.ย.2564 ที่ กองบังคับการตำรวจสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 3 (บก.สอท.3) ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ สอท. พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น,นายพรพิทักษ์ แม้นศิริ ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิด กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 3 สำนักงานภูมิภาค จ.ขอนแก่น ชั่วคราว สำหรับการให้บริการประชาชนและการตรวจติดตามการประทำความผิดตามนโยบายของรัฐบาล ,ความมั่นคงและการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี และโซเชียลมีเดียต่างๆครอบคลุมพื้นที่ 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมแสดงความยินดีและร่วมเป็นสักขีพยานจำนวนมาก
พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผบช.สอท. กล่าวว่า บก.สอท. 3 ซึ่งตั้งอยู่ที่ จ.ขอนแก่น จะทำหน้าที่ในการตรวจติดตามและจับกุมผู้กระทำคามผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะ เพจ เวปไซค์ และโซเชียลมีดียต่างๆ ครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสานของไทย โดยเฉพาะในด้านของคามมั่นคงและนโยบายของรัฐบาลและนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ตำรวจไซเบอร์อีสานจะเฝ้ารังตรวจจับการกระทำความผิด หรือที่เรียกว่ามอนิเตอร์โซเชียลทุกแพตฟอร์มในระดับพื้นที่ตลอดทั้ง 24 ชม. โดยมีพนักงานสอบสวน รวมทั้งชุดสืบสวนสอบสวนประจำการในพื้นที่รับผิดชอบ ในการที่จะประสานการทำงานร่วมกันตำรวจท้องที่และหน่วยงานต่างๆเพื่อเฝ้าระวังและติดตามจับกุม ควบคู่กับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์กลโกงในรูปแบบต่างๆเพื่อไม่ให้กลุ่มมิจฉาชีพที่อาศัยช่องทางทางเทคโนโลยีเข้ามากระทำความผิดในพื้นที่
“ จะเห็นได้ว่ากลโกงของกลุ่มมิจฉาชีพและพฤติกรรมที่พบในพื้นที่ภาคอีสานนั้น จะเป็นไปในรูปแบบของการ่างข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือมาหลอกลวงและเชิญชวนในรูปแบบต่างๆโดยเฉพาะกับการลงทุน หรือการให้สินเชื่อ รวมไปถึงกลุ่มแก๊งค์คอลเซนเตอร์ที่โทรศัพท์มาหลอกลวงประชาชนเพื่อให้เกิดการหลงเชื่อและมีการโอนเงินไปในลักษณะต่างๆ ซึ่งทั้งหมดจะถูกตำรวจไซเบอร์อีสาน ที่ตั้งอยู่ที่ขอนแก่น ทำการเฝ้าระวังและตรวจติดตามพฤติกรรม เนื่องจากข้อมูลการสืบสวนพบว่ากลุ่มมิจฉาชีพที่ส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือค่ายต่างๆนั้นมีการเช่าเหมาจ่าย ค่ายมือถือเพื่อส่งข้อความประชาสัมพันธ์ จนเกิดการหลงเชื้อว่ามีอยู่จริง ซึ่งขณะนี้คณะทำงานกับเร่งสืบสวนสอบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอย่างต่อเนื่องและเต็มที่แล้ว”
ผบช.สอท. กล่าวต่ออีกว่า ผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อกับการกระทำความผิดทางอาชญากรรมทางเทคโลยีทุกแพตฟอร์มสามารถที่จะเดินทางมาแจ้งความกับพนักงานสอบสวน ที่ บก.สอท.3 ขอนแก่น ได้ทุกวัน โดยจะมีพนักงานสอบสวนรับเรื่อและส่งต่อให้ชุดสืบสวนแต่ละพื้นที่เร่งสืบสวนสอบสวนจับกุมผู้กระทำความผิด โดยถือเป็นการให้บริการประชาชนแบบลดขั้นตอนและเสร็จสรรพภายในจุดเดียวโดไม่ต้องเดินทางไปทีกรุงเทพฯ เหมือนที่ช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามขณะนี้ กองบังคับการตำรวจไซเบอร์ภาคอีสานได้เร่งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อฯทุกแพตฟอร์ม แม้กระทั่งการติดป้ายตามสี่แยกกไฟแดง หรือการประสานงานร่วมกับผู้นำท้องถิ่นในการแจ้งเตือนพฤติกรรมของกลุ่มมิจฉาชีพและกลโกงในรูปแบบต่างๆที่กำลังเกิดขึ้น พ้อมช้องทางการตดต่อประสานงานกับทางเจ้าหน้าที่ เพื่อสกัดกั้นกลุ่มมิจฉาชีพที่เป็นคนร้ายที่แฝงตัวมากับโซเชียลมีเดียที่จะต้องถูกจับกุมทั้งหมด
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว-0628929797