ระเบียบวาทะศิลป์ คว้าอันดับ 1 รางวัลวงดนตรี/คณะหมอลำ/คณะลิเกแห่งปี จากผลสำรวจอีสานโพล ขณะที่ ชัชชาติ-สรยุทธ-ณเดชน์และปนัดดา คว้ารางวัลต่างๆตามที่คนอีสานชื่นชอบ
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 27 ธ.ค.2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เปิดเผยผลสำรวจอีสานโพล เรื่องรางวัลแห่งปีของคนอีสาน ปี 2565 ซึ่งคณะนักวิจัยได้ลงพื้นที่สำรวจ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานเกี่ยวกับบุคคล องค์กร และผลงานที่มีความโดดเด่นที่สุดแห่งปี ในสาขาต่างๆ 12 รางวัล โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28 ก.ค. – 2 ส.ค. 2565 และระหว่างวันที่ 22 – 25 ธ.ค. 2565 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด ซึ่งจากการประมวลผล พบว่า คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก แต่ละรางวัล ประกอบด้วย นักการเมืองแห่งปี อันดับที่ 1 คือนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้วยคะแนนร้อยละ 21.5 รองลงมาคือคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 16.9 อันดับที่ 3 คือนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 11.3 อันดับที่ 4 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร อันดับที่ 5 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และอันดับที่ 6 นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข
รางวัล บริษัท/หน่วยงาน/รัฐวิสาหกิจเพื่อสังคมแห่งปี อันดับที่ 1 คือ มูลนิธิกระจกเงาร้อยละ 10.3 รองลงมาคือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ร้อยละ 10.1 อันดับที่ 3 คือ ปตท.ร้อยละ 10.1 โดยร้อยละ 29.7 เห็นว่ายังไม่มีผู้เหมาะสม
รางวัลนักเคลื่อนไหวเพื่อสังคมแห่งปีแห่งปี อันดับที่ 1 คือคุณบุ๋ม ปนัดดา วงษ์ผู้ดี ร้อยละ 7.5 รองลงมาคือ โตโน่ ภาคิน ร้อยละ 5.6 และ พิมรี่พาย ร้อยละ 5.3 โดยร้อยละ 32.9 เห็นว่ายังไม่มีผู้เหมาะสม
รางวัล สถานีโทรทัศน์แห่งปี อันดับที่ 1 คือช่อง 3 HD ร้อยละ 26.5 รองลงมาคือ ช่อง 7 HD ร้อยละ 17.2 และ ช่อง Workpoint ร้อยละ 12.2
รางวัล หนังสือพิมพ์/เว็บไซต์ข่าวแห่งปี อันดับที่ 1 คือ ไทยรัฐ ร้อยละ 22.3 รองลงมาคือ มติชน ร้อยละ 11.2 และ เดลินิวส์ ร้อยละ 8.9 รายชื่ออื่นๆ ร้อยละ 51.3 โดยร้อยละ 6.3 เห็นว่ายังไม่มีที่เหมาะสม
รางวัล พระเอกแห่งปี อันดับที่ 1 คือนายณเดชน์ คูกิมิยะ ร้อยละ 12.9 รองลงมาคือ เวียร์ ศุกลวัฒน์ร้อยละ 8.8 และ โป๊บ ธนวรรธน์ ร้อยละ 7.4 รายชื่ออื่นๆ ร้อยละ 66.0 โดยร้อยละ 4.9 เห็นว่ายังไม่มีผู้เหมาะสม
รางวัล นางเอกแห่งปี อันดับที่ 1 คือ เบลล่า ราณี ร้อยละ 14.8 รองลงมาคือ ญาญ่า อุรัสยา ร้อยละ 13.7 และ ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก ร้อยละ 10.2 รายชื่ออื่นๆ ร้อยละ 58.8 โดยร้อยละ 2.5 เห็นว่ายังไม่มีผู้เหมาะสม
รางวัลนักร้องชายแห่งปี อันดับที่ 1 คือ มนต์แคน แก่นคูณ ร้อยละ 13.4 รองลงมาคือ ก้อง ห้วยไร่ ร้อยละ 6.7 และเปิ้ล ปทุมราช ร้อยละ 6.6 รายชื่ออื่นๆ ร้อยละ 69.5 โดยร้อยละ 3.8 เห็นว่ายังไม่มีผู้เหมาะสม
รางวัล นักร้องหญิงแห่งปี อันดับที่ 1 ต่าย อรทัย ร้อยละ 7.9 รองลงมาคือ ลำไย ไหทองคำ ร้อยละ 6.7 และ มิลลิ ดนุภา ร้อยละ 5.2 ขณะที่รายชื่ออื่นๆ ร้อยละ 75.7 โดยร้อยละ 4.5 เห็นว่ายังไม่มีผู้เหมาะสม
รางวัล วงดนตรี/คณะหมอลำ/คณะลิเกแห่งปี อันดับที่ 1 คณะระเบียบวาทะศิลป์ ร้อยละ 19.1 รองลงมาคือ คณะเสียงอีสาน ร้อยละ 13.3 และ คณะสาวน้อยเพชรบ้านแพง ร้อยละ 9.9 รายชื่ออื่นๆ ร้อยละ 39.3 โดยร้อยละ 18.4 เห็นว่ายังไม่มีที่เหมาะสม
รางวัล ผู้ประกาศข่าว/พิธีกรชายแห่งปี อันดับ 1 นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ร้อยละ 25.3 รองลงมาคือ นายกรรชัย กำเนิดพลอย ร้อยละ 23.7 และนายกิตติ สิงหาปัด ร้อยละ 7.4 รายชื่ออื่นๆ ร้อยละ 32.4 โดยร้อยละ 11.2 เห็นว่ายังไม่มีผู้เหมาะสม และรางวัล ผู้ประกาศข่าว/พิธีกรหญิงแห่งปี อันดับที่ 1 คือ น.ส.พิชญทัฬห์ จันทร์พุฒ ร้อยละ 24.7 รองลงมาคือ น.ส.เปรมสุดา สันติวัฒนา ร้อยละ 7.1 และ น.ส.จิตดี ศรีดี ร้อยละ 6.3 รายชื่ออื่นๆ ร้อยละ 45.0 โดยร้อยละ 16.9 เห็นว่ายังไม่มีผู้เหมาะสม
ศ.ดร.กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน กล่าวว่า การสำรวจนี้ จะให้ชาวอีสานเสนอชื่อ บุคคลหรือองค์กรหรือผลงานที่สมควรได้รับรางวัลแห่งปีในสาขาต่างๆ 12 รางวัล (แบบปลายเปิดไม่มีตัวเลือกให้)ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์ 99% และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ 4% ประกอบด้วยเพศชาย ร้อยละ 46.7 เพศหญิงร้อยละ 51.7 และกลุ่มหลากหลายทางเพศร้อยละ 1.6ด้านอายุ อายุ 18-24 ปี ร้อยละ 8.0 อายุ 25-30 ปี ร้อยละ 13.6 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 24.1 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 25.5 อายุ 51-60 ปี ร้อยละ 20.3 และอายุ 61 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 8.5ด้านระดับการศึกษา ประถมศึกษา/ต่ำกว่าร้อยละ 11.0 มัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 16.7 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ระดับปวช. ร้อยละ 30.5 อนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 18.2 ปริญญาตรี ร้อยละ 21.7 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 1.9
“ด้านอาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 36.4 รองลงมารับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.4 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 13.1 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.0 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.9 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 6.6 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 5.4 และ อื่นๆ ร้อยละ 1.3 และด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน รายได้ไม่เกิน 5,000 บาทร้อยละ 8.3 รายได้ระหว่าง 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 25.6 รายได้ระหว่าง 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 27.2 รายได้ 15,001-20,000 บาท ร้อยละ 21.9รายได้ 20,001-40,000 ร้อยละ 15.4″