นักวิชาการ มข.ระบุ “ประยุทธ์”มาช้าไป แม้จะเปิดตัว รทสช.ยิ่งใหญ่แต่ประชาชนเสียงข้างมากยังคงรอสั่งสอนรัฐบาล มั่นใจ”ประยุทธ์ ” ไม่ได้ไปต่อ และ พท. มีสิทธิ์จับมือ พปชร. ด้วยเงื่อนไขพิเศษในการจัดตั้งรัฐบาลสมัยหน้า
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 11 ม.ค.2565 ที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. รศ.ดร.พรอัมรินทร์ พรหมเกิด อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มข. เปิดเผยว่า การเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ของพรรครวมไทยสร้างชาติและมีการเปิดตัว พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี เป็นสมาชิกพรคและแคนดิเดตในการเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่าเป็นการดำเนินงานที่ช้าไป เนื่องจากทุกพรรคได้มีความเคลื่อนไหวและมีความชัดเจนในด้านต่างๆแล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่กลกยุทธ์ทางการตลาดจึงถูกนำมาใช้ในการเปิดตัวของพรรคและสมาชิกพรรคในครั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจและความหวือหวาในช่วงใกล้ถึงวันเลือกตั้ง และจากการติดตามการคเลื่อนไหวของ รทสช.พบว่าทีมงานของ รทสช.ส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองรุ่นเก่าและตกยุคไปแล้ว ในขณะที่พรรคการเมืองต่างๆนั้นดำเนินการเมืองแบบผสมผสาน ซึ่งถึงเวลาแล้วที่ประชาชนเสียงข้างมากเตรียมรอที่จะสั่งสอนรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งนี้
“ กระแสการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นยอมรับว่าคนไทยทั้งประเทศนั้นตื่นตัวอย่างมากและเสียงข้างมากนั้นรอที่จะส่งสอนรัฐบาล ดังนั้นหากจะแบ่งออกเป็นพรรคอนุรักษ์นิยม คือพรรครัฐบาลปัจจุบันการเลือกตั้งครั้งนี้ อาจจะมุ่งฐานดสียงจากกลุ่มจังหวัดทางภาคใต้และ กลุ่มภาคกลางและมุ้งฝั่งสมุทรปราการ,เพชรบุรีและชลบุรี ซึ่งหากให้วิเคราะห์มั่นใจว่า รทสช.น่าจะได้ที่นั่ง สส.ประมาณ 20-25 คน ในขณะที่พรรคเสรีนิยม จะครองสัดส่วน สส.ทั้งประเทศมากกว่าร้อยละ 60 ส่วนพรรคเล็กพรรคน้อยขณะนี้ชัดเจนแล้วว่าได้มาร่วมกับ รทสช.เพราะหากจะสู้เพียงลำพังด้วยรัฐธรรมนูญฉบับใหม่คงไม่ได้เกิดแน่”
รศ.ดร.พรอัมรินทร์ กล่าวต่ออีกว่า ฟันธงได้ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ พล.อ.ปะยุทธ์ ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อไปอีกแน่ ด้วยเหตุเพราะกระแสเปลี่ยนและเบื่อเกิดขึ้นชัดเจน ประกอบกับการเปิดดีลของพรรคการเมืองต่างๆเริ่มส่งสัญญาณและข้อต่อรองที่ชัดเจนและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของแต่ละพรรคนั้นน่าสนใจ ซึ่งหากให้วิเคราะห์สัดส่วน สส.พรรครัฐบาลปัจจุบัน โดยเฉพาะ รทสช.และ พปชร.ที่แยกตัวกันมาตี จะได้ ส.ส.ไม่ถึง 30 คน ดังนั้นสูตรการจัดตั้งรัฐบาลมองได้เพียง 2 สูตรคือ สูตรแรก พรรคร่วมรัฐบาลที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ก็ต้องตัดพรคเล็กพรรคน้อยออก และพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรค ก็พร้อมที่จะออกจาก รทสช.และ พปชร. และ อีก สูตรคือดีลใหม่ คือเมื่อ พท.ได้รับเสียงข้างมากและเป็นแกนนำหลักในการจัดตั้งรัฐบาล พท.ก็พร้อมที่จะจับมือกับ ก้าวไกล,ภูมิใจไทย,ชาติไทยพัฒนา,เสรีรวมไทยและพรรคการเมืองต่างๆตามสัดส่วน ส.ส. และอาจจะจับมือกับ พปชร.ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค พปชร. ที่อาจจะมีดีลพิเศษเกิดขึ้นด้วยเหตุผลบางอย่าง เพื่อไม่ให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยหน้าก็อาจที่จะเป็นไปได้อีกด้วย