วันเสาร์, 30 พฤศจิกายน 2567

CAT เพาะพันธุ์ดี เปิดตัวนวัตกรรมต้นแบบโซลูชัน CAT Digital Farm ครบวงจรสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดสาร จ.ขอนแก่น

CAT เดินหน้าโครงการ “CAT เพาะพันธุ์ดี” สนับสนุนนวัตกรรมเกษตรครบวงจร CAT DigitalFarm ให้กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักปลอดสาร บ้านหนองหญ้าข้าวนก ตำบลหนองแวง อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น

    เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 เวลา 13.30 น.ณ บ้านหนองหญ้าข้าวนกตำบลหนองแวง อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ได้มีพิธีมอบโครงการ CAT เพาะพันธุ์ดี เปิดตัวนวัตกรรมต้นแบบโซลูชัน CAT Digital Farm ครบวงจรสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนปลูกผักปลอดสาร จ.ขอนแก่น มี

พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เดินทางมากล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ, มีนายทวิช พิมพะ นายอำเภอพระยืน กล่าวต้อนรับคณะผู้บริหาร บมจ. กสท.โทรคมนาคม และผู้มาร่วมงาน,มีนายนิพนธ์ โลหะรัตนกร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง กล่าวความเป็นมาของตำบลหนองแวง และแนวทางการส่งเสริมการทำเกษตรในยุคดิจิทัล,มี ผศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวความเป็นมาของโครงการส่งเสริมพื้นที่ปลูกผัก ปลอดสารพิษบ้านหนองหญ้าข้าวนก,มี รศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวเปิดงานกิจกรรมการส่งมอบโครงการ “CAT เพาะพันธุดี”, มี ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวแสดงความขอบคุณและรับมอบ CAT Digital Farm ในโครงการ “CAT เพาะพันธุดี”,และนายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวแสดงความยินดีกับความสำเร็จของโครงการ

     ทางด้านของ พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดเผยว่า CAT

มุ่งมั่นนำศักยภาพองค์กรด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีดิจิทัลขับเคลื่อนสนับสนุนเกษตรกรก้าวไปสู่ การเป็น Smart Farmer อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนผ่าน“โครงการ CAT เพาะพันธุ์ดี” โดยล่าสุดโครงการฯ ได้เปิดตัวผลงานนวัตกรรมเกษตรครบวงจรในรูปแบบโซลูชัน “CAT Digital Farm” ด้วยแนวคิดเชื่อมโยงเกษตรดิจิทัล 3 มิติ ทั้งในด้านการผลิต การบริหารจัดการ และด้านการตลาด

ความครบถ้วนของโซลูชันทั้ง 3 ระบบของ CAT Digital Farm ประกอบด้วย

    1.ระบบแปลงเกษตรอัจฉริยะ (IoT Smart Farm)เซ็นเซอร์ควบคุมน้ำและความชื้นช่วยลดต้นทุนการผลิตในแปลงเกษตรโดยประหยัดเวลาและแรงงาน

    2.ระบบซอฟต์แวร์บริหารจัดการวิสาหกิจ (Farm Management)ยกระดับด้านการบริหารจัดการเครือข่ายของวิสาหกิจชุมชน ช่วยให้ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถบริหารจัดการข้อมูลสมาชิก ควบคุมปริมาณและประเภทผลผลิตของสมาชิกให้ตรงความต้องการของตลาด ช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองกับตลาดให้ผลผลิตได้ราคาดี และบริหารคลังสินค้า (Inventory) ได้รวดเร็วแม่นยำ

3. ระบบการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing)โดยเชื่อมโยงวิสาหกิจชุมชนเข้ากับตลาดออนไลน์ ได้แก่ iGet Mart, Thailand Post Mart รวมถึงเฟซบุ๊คเพจ“กลุ่มปลูกผักปลอดสารบ้านหนองหญ้าข้าวนก” ซึ่งจะเป็นการต่อยอดดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งขยายความสามารถในการจำหน่ายสินค้าของวิสาหกิจฯ

นอกเหนือจากตลาดหลัก คือ ห้างสรรพสินค้า ตลาดชุมชนต่างๆนอกจากนี้ ระบบ CAT Digital Farm ได้เชื่อมกับระบบ QR Trace มาตรฐานอาหารปลอดภัยของ มกอช.เพื่อแสดงต้นกำเนิดสินค้าและรับรองว่าเป็นสินค้าปลอดภัยได้ซึ่งช่วยให้สินค้าของชุมชนเพิ่มความสามารถแข่งขันทางการค้าและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ปัจจุบันให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารเป็นอย่างมาก CAT Digital Farm ต้นแบบโซลูชันเกษตรดิจิทัลครบวงจร สำหรับโครงการ “CAT เพาะพันธุ์ดี”นำมาทดลองใช้งานเป็นแห่งแรก ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักปลอดสารบ้านหนองหญ้าข้าวนก จ.ขอนแก่น ออกแบบและพัฒนาโดยทีมงานของ CAT ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นนวัตกรรมแพลตฟอร์มสำหรับวิสาหกิจชุมชนโดยเฉพาะตอบโจทย์ของเกษตรชุมชนได้อย่างครบถ้วนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จากการผลิตที่มี ประสิทธิภาพไปจนถึงในการนำสินค้าสู่ผู้บริโภคในทุกตลาดอันจะสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชุมชนและแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน โดยในอนาคตโครงการ “CAT เพาะพันธุ์ดี”มีแผนพัฒนาโมเดลต้นแบบนี้ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ และส่งมอบระบบ CAT Digital Farm ให้กับชุมชนอื่นๆได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 2 จ.พิจิตร วิสาหกิจชุมชนหนองสาหร่าย จ.กาญจนบุรี และ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงราย จ.เชียงราย การส่งมอบระบบดิจิทัลฟาร์มให้กับเกษตรกรใพื้นที่ต่างๆ เป็นกิจกรรมหลักที่โครงการ CAT เพาะพันธุ์ดี มุ่งมั่นดำเนินการมาตลอดเพื่อนำศักยภาพในด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสื่อสารดิจิทัลซึ่งเป็นจุดแข็งของ CAT มาสนับสนุนเกษตรกรกลุ่มต่างๆ ให้ก้าวไปสู่การเป็น Smart Farmer และอีกหนึ่งความตั้งใจ คือการช่วยแก้ไขปัญหาขจัดความยากจนให้กับเกษตรกร ซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพหลักของประเทศให้มีเครื่องมือในการพัฒนาวิชาชีพเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีทำให้สามารถพัฒนาผลผลิตได้ทั้งคุณภาพและปริมาณรวมถึงการเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าเกษตรบนแพลตฟอร์มออนไลน์บน e-Market place เพื่อโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก CAT เล็งเห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีพัฒนาเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชากรไทยและพร้อมนำจุดแข็งของหน่วยงานพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมรูปแบบดิจิทัลฟาร์มเพื่อสนับสนุนเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชากรไทย นับเป็นผลงานจากการสานต่อและผนึกกำลังความร่วมมืออย่างจริงจังของหน่วยงานภาครัฐ(จังหวัดขอนแก่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกษตรจังหวัดขอนแก่น อบต.หนองแวง)พร้อมทั้งคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)ศูนย์วิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินและน้ำแบบบูรณาการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มูลนิธิโคคา โคล่า ศูนย์มีชัยบ้านไผ่ ชุมชนท้องถิ่น เครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ (ศพก., กลุ่ม Young SmartFarmer ) โดยทุกฝ่ายมุ่งบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเกษตรแปลงใหญ่ในจังหวัดขอนแก่น และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสมาร์ตซิตี้ขอนแก่น ซึ่งนับเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ตื่นตัวก้าวหน้าด้านเมืองอัจฉริยะระดับต้นๆ ของประเทศ”พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT  กล่าว

      ด้าน นายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวแสดงความยินดีกับความสำเร็จของโครงการว่า”ก็ขอแสดงความยินดีกับโครงการ“CAT เพาะพันธุ์ดี” ถือว่าเป็นโครงการที่ดีที่ทาง กสท.ได้เข้ามาขับเคลื่อนทางด้านเทคโนโลยีด้านทางการเกษตรทำให้ชาวบ้านเกษตรกรได้รับความสะดวก ได้ใช้เทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ทางกระทรวงฯเองก็มีแผนที่จะช่วยผลักดันให้พี่น้องประชาชนได้ใช้เทคโนโลยีได้ครบคลุมทั่วประเทศอยุ่แล้ว”นายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่การกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าว

     ทางด้าน ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวแสดงความขอบคุณเสริมว่า”ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ ทาง กสท.ที่ได้นำเทคโนโลยีมาให้พี่น้องประชาชนได้ใช้ในทางด้านเกษตร เป็นการเติมเต็มการเป็น  SMART ECONOMY (สมาร์ทอีโคโนมี) ของจังหวัดขอนแก่น ถือว่าเป็นการขับเคลื่อนของพี่น้องเกษตรกรในทางทีดีในการเพิ่มผลผลิต ลดค่าใช้จ่ายทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ยังประโยชน์ให้กับครอบครัว ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของชาติ ถือว่าเป็นการสนองนโยบายของทางรัฐบาลด้วย”ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวเสริม

    นายชูเกียรติ นามบุญเรือง ผู้อำนวยการสำนักงานบริการลูกค้า CAT เขตตะวันออกเฉียงเหนือ ในฐานะที่เป็นเจ้าของพื้นที่ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า”สำหรับกิจกรรมส่งมอบ CAT DigitalFarm ให้กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักปลอดสาร บ้านหนองหญ้าข้าวนก “CAT เพาะพันธุ์ดี”ทางเราได้นำเอาระบบ IOT ของสมาทฟารม์ของทางวิสาหกิจของหมู่บ้านฯถือว่าเป็นการส่งเสริมเทคโนโลยี ชาวบ้านจะสามารถสร้างรายเพิ่มมากขึ้น ลดการให้แรงงานได้มากพอสมควร ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นกว่าเดิมแน่นนอน ตลอดปีที่ผ่านมาเราได้ไปทำกิจกรรมแบบนี้หลายครั้งแล้ว ในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้ว”    นายชูเกียรติ นามบุญเรือง ผู้อำนวยการสำนักงานบริการลูกค้า CAT เขตตะวันออกเฉียงเหนือ ได้กล่าวเสริม

     สุดท้าย ผศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวว่า”สำหรับกิจกรรมในวันนี้ทางคณะเกษตร มข.เป็นหนึ่งในหน่วยงานหลักที่ได้มาส่งเสริมตั้งแต่เริ่มแรก เลยได้ชักชวนทาง กสท.มาร่วมในการส่งเสริมให้ชาวบ้านได้ใช้เทคโนโลยีช่วยในการเกษตร เพราะผลผลิตที่นี้สามารถส่งขายได้ทั้ง โลตัส,ท็อปซุปเปอร์มาเก็ตฯลฯ เป็นที่สนใจมากเลยที่เดียว เป็นการนำสิ่งใหม่ๆให้ชาวบ้านได้ใช้ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างดีเลยที่เดียว ที่สำคัญในพิธีการส่งมอบฯในวันนี้จะเป็นการสร้างการเรียนรู้ซึ่งกันและระหว่างหน่วยงานต่างๆกับชาวบ้านได้ดีที่เดียว”ผศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวปิดท้าย

Loading