วันที่ 2 เมษายน 2567 ที่ มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น อาจารย์ปริญ นาชัยสิทธิ์ รองอธิการบดีประจำวิทยาเขตขอนแก่น มอบ ผศ.ดร.หริส ประสารฉ่ำ ผู้ช่วยอธิการบดี นำ คณะผู้เข้าร่วมโครงการอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หลักสูตร : 5 องค์ประกอบ ลงนามถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ขอพระองค์ทรงพระเจริญ พระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน สถิตเป็นดวงแก้ว เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยสืบไป
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ได้จัดโครงการฝึกอบรมปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน รุ่นที่ 2/2567 หลักสูตร : 5 องค์ประกอบ ระหว่างวันที่ 2 – 5 เมษายน 2567 มีวัตถุประสงค์โครงการ ฯ เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ (อพ.สธ.) ส่งเสริมให้สถานศึกษาดำเนินงานสนองพระราชดำริ ฯ โครงการ อพ.สธ.ในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ให้สถานศึกษาเข้าใจ เห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืชและทรัพยากรธรรมชาติ สร้างจิตสำนึกให้นักเรียน นักศึกษา มีความรักและเห็นคุณค่าของพรรณไม้ในสถานศึกษาของตน เกิดแหล่งรวบรวมพรรณไม้ ข้อมูลพรรณไม้ และการเก็บรักษาพรรณไม้ในสถานศึกษาเกิดประโยชน์ทางการศึกษาและสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณชนสร้างความภาคภูมิใจและสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชให้อนุชนคนรุ่นต่อไป
โครงการ ฯ ฝึกอบรม ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ธานินทร์ สันคะนุช เจ้าหน้าที่งานในพระองค์ระดับ 6 โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ (อพ.สธ.)เป็นวิทยากร บรรยายเรื่องแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ตามแนวทาง อพ.สธ.เนื้อหาประกอบด้วย ความสำคัญ อพ.สธ. เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ภาพรวมกิจกรรม 8 กิจกรรม ลำดับการขอรับป้ายสนองพระราชดำริ ฯ
คณะวิทยากร ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ประกอบด้วย อาจารย์ ดร.ชยาคมน์ ปุริมศักดิ์ บรรยายองค์ประกอบที่ 1 การจัดทำชื่อพรรณไม้ อาจารย์ ดร.พันธกานต์ แก้วอาษา บรรยายเรื่องการรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน อาจารย์ ดร.พีรวิทย์ โชคเหมาะ บรรยายเรื่องการศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ อาจารย์ ฐิติพร จันทร์ดา บรรยายเรื่องการนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และยังมีทีมวิทยากรภาคปฏิบัตินำผู้เข้าร่วมอบรมฝึกปฏิบัติฝึกการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องเช่น การกำหนดพื้นที่ศึกษา การสำรวจพรรณไม้ การทำป้ายชื่อ การติดป้ายรหัสประจำต้น การทำผังแผนที่แสดงตำแหน่งพรรณไม้ บรรยากาศการฝึกอบรมเต็มเปี่ยมไปด้วยมิตรภาพผู้เข้าร่วมอบรมพร้อมใจจะสืบทอดพระปณิธานที่จะปกปักรักษาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตามแนวทาง อพ.สธ.เพื่อความยั่งยืนตลอดไป