(มีคลิป) เมื่อเช้าเวลา 08.00น. วันที่ 6 กรกฎาคม 2567 ณ แปลงหญ้าอาหารสัตว์คณะเกษตรศาสตร์ กิจกรรมนี้โดยได้รับความร่วมมือจาก 21 คณะในมหาวิทยาลัยร่วมปลูกต้นยางนากว่า2,000 ต้นบนพื้นที่ 60 ไร่
ทางด้าน รศ.นพ.ชาญชัยพานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “โครงการนี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมข. ในการมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืนและตอบสนองต่อเป้าหมายระดับชาติในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โครงการได้รับการสนับสนุนกล้าไม้จากกรมป่าไม้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมกว่า 950 คนประกอบด้วยนักศึกษา 840 คนและผู้บริหารอาจารย์บุคลากรรวมถึงบุคคลทั่วไปอีก 110 คน
ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพแต่ยังรวมถึงการเป็นต้นแบบในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโครงการปลูกป่านี้เป็นก้าวสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการปลูกต้นยางนาในวันนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์แต่ยังเป็นการสร้างแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิตสำหรับนักศึกษาและชุมชนเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนและเป็นแบบอย่างให้กับสถาบันการศึกษาและองค์กรอื่นๆในการดำเนินโครงการลักษณะนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่จะขยายผลไปสู่โครงการอื่นๆในอนาคตเพื่อให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง”รศ.นพ.ชาญชัยพานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ด้าน รศ.ดร.ดรุณีโชติษฐยางกูรคณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มข. เปิดเผยว่า “โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้เป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์สร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมแก่นักศึกษาและพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปลูกและจัดการป่าคาดว่าต้นยางนาที่ปลูกจะสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างน้อย 40,000 กิโลกรัมต่อปี
ด้วยปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อนเป็นประเด็นท้าทายระดับโลกประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปีค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปีค.ศ. 2065 มหาวิทยาลัยขอนแก่นในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำได้ตระหนักถึงความสำคัญในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหานี้และมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่ยั่งยืน
คณะเกษตรศาสตร์จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ:
- เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ในเขตพื้นที่ของคณะฯให้เป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์
- สร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
- พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปลูกและจัดการป่าสำหรับนักศึกษาและบุคลากร
โครงการนี้ตั้งเป้าหมายปลูกต้นยางนาจำนวน2,000 ต้นในพื้นที่ 60 ไร่ซึ่งคาดว่าจะสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างน้อย20,000 กิโลกรัมต่อปีโดยได้รับความร่วมมือจาก 21 คณะในมหาวิทยาลัยส่งนักศึกษาและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าในวันนี้”รศ.ดร.ดรุณีโชติษฐยางกูรคณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มข.กล่าว
ต่อจากนั้นในวันเดียวกันเวลา 17.00น. ที่ผ่านมา ณ บริเวณลู่วิ่งของมหาวิทยาลัย รศ.นพ.ชาญชัยพานทองวิริยะกุลอธิการบดี มข. เป็นประธานเปิดงาน:”มข. จัดโครงการปลูกต้นกาลพฤกษ์ 300 ต้นมุ่งสู่Green Campus และNet Zero”พร้อมด้วยผู้บริหารคณาจารย์บุคลากรนักศึกษาและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกว่า 500 คน
โครงการนี้ริเริ่มโดยคณะเกษตรศาสตร์มข. มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกต้นกาลพฤกษ์จำนวน 300 ต้นรอบลู่วิ่งเพิ่มพื้นที่สีเขียวสร้างความร่มรื่นและช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์สนับสนุนเป้าหมายการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของมข.
ด้านรศ.นพ.ชาญชัยพานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่าโครงการนี้เป็นก้าวสำคัญของมข. ในการมุ่งสู่การเป็นGreen Campus และการบรรลุเป้าหมายNet Zero ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศไทยและประชาคมโลกพร้อมหวังว่าจะเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในมหาวิทยาลัยที่สามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆต่อไป
มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีเป้าหมายในการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือNet Zero ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศไทยและประชาคมโลกโครงการนี้จึงนับเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าว
การปลูกต้นกาลพฤกษ์จำนวน 300 ต้นรอบลู่วิ่งของมหาวิทยาลัยนอกจากจะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวสร้างความร่มรื่นสวยงามและส่งเสริมสุขภาวะแล้วยังเป็นการช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการบรรเทาปัญหาโลกร้อน
สิ่งที่น่าชื่นชมอย่างยิ่งคือโครงการนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งคณะเกษตรศาสตร์ผู้ริเริ่มโครงการนักศึกษาบุคลากรนักวิ่งและประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมกิจกรรมแสดงให้เห็นถึงพลังของการมีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัยและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม” รศ.นพ.ชาญชัยพานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นกล่าว
วัลยา แสนมี กองสื่อสารองค์กร มข.-พิธีกร
นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -ถ่ายภาพ
ประเสริฐ สุวรรณสิทธิ์ -บรรณาธิการข่าว/ตัดต่อ
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797