อุตสาหกรรมติวเข้มผู้ประกอบการอีสาน ยกระดับธุรกิจเอสเอ็มอี สู่ภาคอุตสาหกรรมสีเขียว มั่นใจผู้ประกอบการอีสานทำได้ ตั้งเป้าผู้ประกอารเข้าร่วม 300 ราย มูลค่ารวมกว่า 61.5 ล้านบาท ขณะที่ทั้งประเทศ 1,800 ราย สร้างมูลค่าเศรษฐกิจรวม 1,350 ล้านบาท
เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 24 ก.ค.2567 ที่โรงแรมโฆษะ จ.ขอนแก่น นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการจัดกิจกรรม “ISAN Moving Green Forward ก้าวไปข้างหน้า เพื่อโลก เพื่อเรา ชาวอีสาน” ซี่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้กำหนดจัดกิจกรรมขึ้นโดยมีผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในความรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 4-7 เข้าร่วมกิจกรรมอย่งพร้อมเพรียง
นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมของไทยกำลังเผชิญความเสี่ยงและความผันผวนจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก ทำให้เกิดความผันผวนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้สั่งการให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวไปข้างหน้าเพื่ออุตสาหกรรมที่ยั่งยืนผ่านกลไก 3 ด้าน ทั้งในเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Green Productivity,ด้านการพัฒนาการตลาด Green Marketing และด้านสินเชื่อ Green Finance ซึ่งในการกำหนดจัดกิจกรรในภาคอีสานวันนี้ จะเน้นหนักในกระบวนการรับรู้ให้ภาคอุตสาหกรรมได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการลดใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการผู้ประกอบการมาร่วมนำเสนอองค์ความรู้และประสบการณ์ในการต่อยอดธุรกิจยุคใหม่สู่สังคมคาร์บอนต่ำ มีการบริหารจัดการด้านอุตสาหกรรมสีเขียว รวมทั้งการอัพเดทเทรนด์ตลาด บรรจุภัณฑ์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามกระแสรักษ์โลกที่กำลังมาแรงอยู่ในขณะนี้
“ ในปี 2567 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้กำหนดแผนโปรเจกต์กรีนที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเพิ่มรายได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเชิงพื้นที่เพื่อสุขภาพและความงาม,การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากซุปเปอร์ฟู้ด,การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเส้นใยชีวภาพ,การเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจด้ยโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน,การพัฒนาผลิตภัณฑ์อัพไซเคิล,การพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตพลังงานและเชื้อเพลิงจากชีวมวลและการสร้างความตระหนักและการพัฒนาองค์ความรู้ด้าน BCG ที่มุ่งสร้างการรับรู้และจูงใจให้ผู้ประกอบการในภาคอีสานให้เห็นถึงความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ พร้อมปรับตัวเองรองรับกับกฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดภาวะโลกรอนที่เป็นความท้าทายต่อภาคการผลิตของไทยในยุคปัจจุบัน”
นางดวงดาว กล่าวต่ออีกว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเน้นย้ำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ใช้นวัตกรมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตามแนวทางเศรษบกิจหมุนเวียน เศรษบกิจสีเขียว และสังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมเชื่อมโยงสู่การขอมาตรฐานหรือฉลากสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าการบกระดับผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคอีสาน 300 ราย ซึ่งคาดว่าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 61.5 ล้านบาท ขณะที่ทั้งประเทศตั้งเป้าผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการรวมกว่า 1,800 รายสร้างมูลค่าทางเศรษบกิจรวมกว่า 1,350 ล้านบาท และนำร่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอัสาหกรรมทั่วทั้งประเทศ 7.2 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซค์เทียบเท่าต่อปีตามเป้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด อย่างไรก็ตามการจัดกิจกรมในภาคอีสานนี้เป็นกิจกรรมต่อเนื่องครั้งที่ 3 ต่อจากกรุเทพฯ,เชียงใหม่และครั้งสุดท้ายจะกำหนดจัดขึ้นที่นครศรีธรรมราช โดยได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการทุก๓มิภาคในการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียง