วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

สำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่นร่วมกับองค์กรวินร็อคอินเตอร์แนชั่นแนล จัดฝึกอบรมเกษตรกร เรื่อง“กลยุทธ์และเทคโนโลยีไม่เผาตอซังในนาข้าว”

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 17 ต.ค.2567 ที่ ห้องมงกุฎเพชร 1 โรงแรมโฆษะ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
องค์กรวินร็อคอินเตอร์แนชั่นแนล เป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา โดยดำเนินโครงการเรนในประเทศไทย ได้ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น จัดฝึกอบรมเกษตรกร เรื่อง “กลยุทธ์และเทคโนโลยีไม่เผาตอซังในนาข้าว” โดยมีนางสาวจิราภรณ์ โชติพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการและการเงิน โครงการเรน เป็นประธานเปิด พร้อมด้วยนายประยูรภัทร ศรีศักดิ์นอก หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สนง.เกษตรจังหวัดขอนแก่น รศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล ผู้ประสานงานโครงการ Chi river No Burn นักวิชาการ เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการอบรมจำนวน 130 คน

IMG-0106

นางสาวจิราภรณ์ โชติพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการและการเงินโครงการเรน กล่าวว่า โครงการไม่เผาในลุ่มน้ำชีนี้จะทำการอบรมแกนนำเกษตรกรระดับจังหวัดๆละ 100 คน รวม 400 คน และจะอบรมเกษตรกรในพื้นที่อีก 16 อำเภอๆละ 50 คน รวม 800 คน โดยเกษตรกรที่ผ่านการอบรมจะนำองค์ความรู้และประสบการณ์ การไม่เผาตอซังข้าว นำขยายผลไปยังเกษตรกรท่านอื่นๆ คาดหวังว่าเกษตรกรจะได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในการไม่เผาแล้วใช้วิธีการอื่นในการกำจัดตอซัง

“โครงการเรน ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 5 ปี ดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ 11 จังหวัดของไทย สนับสนุนเกษตรกรรายย่อย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการเกษตร โดยจะมีการคัดเลือกเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมสู่เกษตรกรในลดรายจ่าย เพิ่มผลผลิตและรักษาสิ่งแวดล้อม มีเกษตรกรและนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จาก อำเภอเมือง พระยืน และน้ำพอง เข้าร่วม ยังมีหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมส่งเสริการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน มาออกนิทรรศการให้ความรู้ และกลุ่มเกษตรกรมาออกร้านจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร “

  นายประยูรภัทร์ ศรีศักดิ์นอก หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า โครงการนี้ดำเนินการในพื้นที่ 4 จังหวัดลุ่มน้ำชี ภายใต้ชื่อ Chi River No Burn Project (โครงการไม่เผาในลุ่มน้ำชี) ซึ่งจังหวัดขอนแก่นเป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมาย ดำเนินกิจกรรมหลัก 4 ด้านได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ  การสร้างเครือข่ายเกษตรกร   การสร้างความร่วมมือ และการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ซึ่งในกิจกรรมเหล่านี้จะได้สนับสนุนเกษตรกรให้ใช้นวัตกรรมเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทางโครงการหวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆในพื้นที่เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

ยังมีเกษตรกรบางรายยังเผาตอวังด้วยเหตุผล คือ กำจัดง่าย เร็ว ลดต้นทุน สะดวก แต่ไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา เช่นหน้าดินถูกทำลายไปพร้อมกับจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อดิน ต่อต้นข้าว ทำให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยเพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญอย่างหนึ่งเป็นสาเหตุของฝุ่น PM 2.5 ดังนั้นหากไม่มีการเผา ปล่อยให้จุลินทรีย์สลายตอซังแล้วไถกลบ จะส่งผลให้สภาพดินสมบูรณ์ดีมากขึ้น สิ่งแวดล้อมดีขึ้น พืชและสัตว์เล็กๆจะมาอาศัยในแปลงนามากขึ้น และทางโครงการจะได้นำดินในแปลงสาธิตการไม่เผาตอซังและใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย ไปตรวจศึกษาดูความอุดมสมบูรณ์ของดินทั้งก่อนทำนาและหลังเก็บเกี่ยว

รศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล ผู้ประสานงานโครงการ Chi river No Burn กล่าวว่า โครงการมีการสร้างเสน่ห์และแรงจูงในให้เกษตรกรเข้าร่วมพร้อมปฏิบัติมากขึ้น โดยหลังจากอบรมให้ความรู้แล้ว เกษตรกรก็จะได้ขยายผลไปยังเพื่อนเกษตรกร ไม่เผาตอซัง/ไม่เผาตอซังและมีการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย อีก 50 คน เกษตรกรที่ผ่านการอบรมระดับจังหวัด หากสามารถขยายผลได้เป็น 30 คนแรกของแต่ละจังหวัด จะได้รับรางวัลเป็นบัตรกำนัล (วอยเช่อร์) มูลค่า 10,000 บาทต่อคน ที่สามารถไปแลกปัจจัยการผลิตจากหน่วยงานที่ทางโครงการได้ประสานงานไว้ รวมแล้วคิดเป็น 120 รางวัล คิดเป็นมูลค่า 1,200,000 บาท นอกจากนี้ หลังเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว จะมีการประกวดว่า ชุมชน/หมู่บ้านไหนมีประกวดการจัดการแปลงนาโดยไม่เผาตอซังดีเด่น จังหวัดละ 3 รางวัล รวม 12 รางวัล ขณะเดียวกัน มีการสนับสนุนการทำแปลงสาธิตไม่เผาตอซังและใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย จำนวน 40 แปลง ซึ่งทางโครงการจะสนับสนุนจุลินทรีย์และค่าการเตรียมดินทั้ง 40 แปลง (ค่าไถดะ ไถพรวน) สิ่งเหล่าเป็นกลยุทธ์หนึ่งของโครงการที่ประสงค์ให้เกษตรเปลี่ยนทัศนคติไม่เผาตอซังด้วยการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย

IMG-0210 IMG-0097 IMG-0093

Loading


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
โรงพยาบาลศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น เชิญชวนชาวขอนแก่นมาออกกำลังกายจัดตั้งฟิตเนส 07 FIT GYM ทันสมัย พร้อมจัดแข่งขันกรรเชียงบกเพื่อสุขภาพวัยทำงาน
ขอนแก่นยกเสาเอกบ้านมั่งคงศิลา แห่งแรกของภาคอีสานตามแผนพัฒนาริมทางรถไฟ นำร่อง 77 ครัวเรือน
ชาวขอนแก่นพร้อมใจรำอวยพรถวาย พระพรหมวชิรดิลก เจริญอายุวัฒนมงคล 79 ปี
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. จัดโครงการสัมมนาบทบาทภารกิจและผลดำเนินงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อยกระดับการกำกับกิจการพลังงาน การมีส่วนร่วม พร้อมรับมือยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ที่ จ.ขอนแก่น
ปอมท.มอบรางวัลพระราชทาน อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2567 ขณะที่ “ศุภชัย” ระบุระบบเอไอในงานวิจัยดีแต่ต้องวิจัยอย่างรอบคอบ เพราะมีทั้งคุณและโทษ
สมาคมไมซ์อีสานจับมือทีเส็บนำภาคีเครือข่ายจัดงาน Isan Silk & Craft Trade ดึงผู้ซื้อจากทั่วโลก ปั้นงานเทรดโชว์ไหมเสริมงานเทศกาลไหมและเมืองไหมขอนแก่น 28-30 พ.ย. นี้