วันพฤหัสบดี, 28 พฤศจิกายน 2567

สาขาวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสมาคมฟิสิกส์ไทย เตรียมจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ “The 20th Siam Physics Congress (SPC2025)” เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระดับสากล

สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสมาคมฟิสิกส์ไทย ร่วมจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติThe 20th Siam Physics Congress (SPC2025)ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 มิถุนายน 2568 ณ โรงแรมพูลแมน ราชา ออคิด ขอนแก่น ภายใต้ธีม“Synergizing Physics Co-creativity”หรือ“สร้างเสริมฟิสิกส์ร่วมสร้างสรรค์”งานประชุมนี้ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นเวทีสำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่ายความร่วมมือ และเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา และผู้สนใจในฟิสิกส์ได้มานำเสนอผลงานและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ในเวทีระดับชาติเพื่อเปิดตัวการจัดงานประชุม SPC2025 อย่างเป็นทางการ สาขาวิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดงานแถลงข่าวในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 เวลา 11:00-12:00 น. ณ ห้องประชุมวิทยวิภาส 1 คณะวิทยาศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังคณา บุญยืด คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และศาสตราจารย์ ดร.สุปรีดิ์ พินิจสุนทร หัวหน้าสาขาวิชาฟิสิกส์ ร่วมแถลงข่าวและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประชุมในครั้งนี้

IMG-6304

ไฮไลต์สำคัญของงานประชุมวิชาการครั้งนี้ คือ การบรรยายเชิงวิชาการที่ครอบคลุมหัวข้อที่เป็นที่สนใจในแวดวงฟิสิกส์ทั่วโลก โดยมีหัวข้อหลักมากถึง 10 หัวข้อ ซึ่งสะท้อนถึงความหลากหลายและความสำคัญของฟิสิกส์ต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ หัวข้อเหล่านี้ครอบคลุมตั้งแต่การศึกษาพลังงานสูงและฟิสิกส์อนุภาค การสำรวจจักรวาลและดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น การคำนวณและการจำลองวัสดุ รวมถึงการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในงานวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ ตลอดจนฟิสิกส์นิวเคลียร์ เทคโนโลยีควอนตัม ฟิสิกส์พลังงาน ฟิสิกส์ไอออนและพลาสมา และนวัตกรรมการศึกษาฟิสิกส์เนื้อหาของการประชุมยังสะท้อนถึงความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ ที่ฟิสิกส์สามารถนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาของโลกยุคปัจจุบัน เช่น การพัฒนาวัสดุพลังงานใหม่เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน การค้นคว้าความลับของจักรวาลที่อาจนำไปสู่ความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับต้นกำเนิดของโลก และการสร้างเทคโนโลยีควอนตัมที่สามารถปฏิวัติวงการคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร และการแพทย์นอกจากนี้ SPC2025 ยังมุ่งเน้นไปที่การผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางวิจัยและนวัตกรรมระดับสากล โดยนำเสนอแนวคิดและองค์ความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่

5-SPC2025 3-SPC2025

อีกหนึ่งกิจกรรมไฮไลท์ที่น่าสนใจ คือ การประกวดโครงงานอิสระสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี โดยโครงงานที่ชนะเลิศจะได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พร้อมเงินรางวัล 25,000 บาท และรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย การประกวดนี้เป็นเวทีสำคัญสำหรับนักศึกษารุ่นใหม่ในการแสดงศักยภาพในเวทีวิชาการระดับประเทศ

4-Sponsorship-SPC2025

ช่องทางการติดตามข่าวสารและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานประชุม SPC2025 ได้ที่:

งานประชุม SPC2025 นี้ไม่เพียงเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวคิดสร้างสรรค์ แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ที่มีเป้าหมายขับเคลื่อนวงการฟิสิกส์ไทยให้เติบโตและก้าวไปสู่ระดับนานาชาติ ทางสาขาวิชาฟิสิกส์และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความพร้อมและมุ่งมั่นในการสนับสนุนการจัดงานในครั้งนี้อย่างเต็มที่

IMG-6354 IMG-6360
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 7003315842a3e5554.jpeg tz01.jpeg 2_07b2fa84021c11013.jpeg sm02.jpeg green-white-background06.jpeg cropped-kk0012-scaled-3.jpeg ลิงค์สำรองการฟังวิทยุออนไลน์ FM101.MHZ radio20766.gif

Loading


เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สำนักบริการวิชาการ มข. จัดเวิร์กช็อปพิเศษ Team-Based Learning ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการศึกษา
สำนักบริการวิชาการ มข. ผลักดันการบริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ปอมท.มอบรางวัลพระราชทาน อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2567 ขณะที่ “ศุภชัย” ระบุระบบเอไอในงานวิจัยดีแต่ต้องวิจัยอย่างรอบคอบ เพราะมีทั้งคุณและโทษ
สำนักบริการวิชาการ ร่วมพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อมอดินแดง
มข.ต่อยอด Soft Power ดันลูกทุ่ง “เสียงสนแว่วหวานสีฐานเฟสติวัล” ปีที่ 3 ยกระดับเวที ผู้ชนะเลิศสามารถเดินเข้าสู่วงการบันเทิงในระดับประเทศต่อไป
จ.อุดรธานี/สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะ (UpSkill) แก่ผู้ปฏิบัติงานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น