วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

มทร.อีสาน มาร์เก็ตเพลสช่องทางออนไลน์ให้ประชาชนขายฟรี

ผศ.ดร.ระบิล พ้นภัย คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เปิดเผยว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมาตรการป้องกันรวมทั้งการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ  โดยในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา  คัดกรองประชาชน (ยอดสะสม ณ.วันที่ 3 มี.ค. ถึง 27 เม.ย.63) จำนวนทั้งหมด  85,789 คน พบว่า  มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ตรวจหาเชื้อ  จำนวน 748 ราย (เก่า 741 +ใหม่ 7 ราย) ไม่พบเชื้อ  จำนวน 726 ราย  รอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ  จำนวน 3 ราย  พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 19 ราย (ใหม่ 1ราย) การรักษาหายจำนวน 13 ราย กลับบ้าน รวมจำนวน 12 ราย กักตัวต่อ โรงแรมปัญจดารา 1 ราย ยังรักษาอยู่ จำนวน 6 ราย (ที่ รพ.มหาราช3 ,รพ.สูงเนิน 1 รพ.โชคชัย 2 ราย)  มีอาการดีขึ้น 5 ราย, อาการคงที่ 1 ราย-19 และมาตรการป้องกันรวมทั้งการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ  โดยในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา  คัดกรองประชาชน (ยอดสะสม ณ.วันที3มีค. 27 เมย 2563) จำนวนทั้งหมด 85,789 คน พบว่า มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ตรวจหาเชื้อ จำนวน 748 ราย (เก่า 741 +ใหม่ 7 ราย) ไม่พบเชื้อ จำนวน 726 ราย รอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ จำนวน 3 ราย พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 19 ราย (ใหม่ 1ราย) การรักษาหายจำนวน 13 ราย   กลับบ้าน รวมจำนวน 12 ราย กักตัวต่อ โรงแรมปัญจดารา 1ราย ยังรักษาอยู่ จำนวน6 ราย (ที่ รพ.มหาราช3, รพ.สูงเนิน 1 รพ.โชคชัย 2 ราย) ในจำนวนนี้มีอาการดีขึ้น 5 ราย, อาการคงที่ 1 ราย

จากประกาศของรัฐบาลและจังหวัดนครราชสีมา ผ่านทางประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ลงวันที่ 18 มีนาคม 2563 ส่งผลต่อผู้ประกอบการและแรงงานที่ต้องปิดกิจการ เช่น โรงแรม ฟิตเนส ร้านอาหารที่ไม่สามารถนั่งทานได้ (สามารถซื้อกลับได้อย่างเดียว) ซึ่งส่งผลต่อรายได้ของกิจการและกระทบต่อการเลิกจ้างแรงงาน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการว่างงาน การขาดรายได้ ของประชาชน และส่งผลต่อการบริโภคและกระทบต่อเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อผู้ปกครองในการเรื่องของการหาค่าเทอม/ค่าบำรุงการศึกษาในภาคเรียนที่จะมาถึง

ผศ.ดร.ระบิล กล่าวต่อว่า ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้ให้นโยบายด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ตลาดออนไลน์ ในนาม มทร.อีสาน จึงถือกำเนิดขึ้นและใช้ชื่อว่า “มทร.อีสาน มาร์เก็ตเพลส” โดยเริ่มเปิดตัว เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2563 เชิญชวนศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน บุคลากรในสังกัดมทร.อีสาน ให้เข้าร่วมโครงการ และยังเปิดกว้างให้บุคคลภายนอกที่สนใจ สามารถเข้ากลุ่มตลาดออนไลน์ได้ ไม่จำกัดอาชีพ ครอบคลุมถึงเกษตรกร และชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งในขณะนี้มีกลุ่มบุคคลให้ความสนใจ เข้าร่วมเป็นสมาชิก จำนวน 1,494 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 เมษายน 2563) โดยวัตถุประสงค์หลักต้องเพิ่มช่องทางในการขายสินค้าให้กับประชาชนในจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย (นครราชสีมา ขอนแก่น สุรินทร์ สกลนคร และร้อยเอ็ด) แก่ศิษย์เก่า/ปัจจุบัน บุคลากร และบุคคลทั่วไปในการจำหน่ายสินค้า โดยเริ่มแรกผู้ดูแลกลุ่ม (admin page) ได้ขอความร่วมมือในการโพสต์ขายของให้เป็นศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน บุคลากรในสังกัด มทร.อีสาน หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับ มทร.อีสาน เป็นผู้ขาย ส่วนผู้ซื้อเป็นใครก็ได้ เปิดกว้างให้บุคคลทั่วไป บางครั้งผู้ขายก็เป็นผู้ซื้อไปด้วยในตัว ถือเป็นประชาคมตลาดออนไลน์ที่สมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ ผู้ดูแลกลุ่ม (admin page) ได้ขอความร่วมมือในการใช้ถ้อยคำที่สุภาพ หากมีการขายสินค้าหรือให้บริการประเภทเดียวกัน ควรให้เกียรติซึ่งกันและกัน การโพสต์ขายของให้แนะนำตัวเองสั้นๆ ชื่อเล่น หรือชื่อจริง กรณีเป็นนักศึกษา ให้แนะนำรหัส ชั้นปี สาขาที่สังกัด เพื่อสร้างความรู้จักกันก่อน อีกทั้งยังเป็นการแสดงความจริงใจให้กับผู้ซื้อได้อีกด้วย ประเภทของสินค้าหรือบริการที่นำมาซื้อขาย สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) อาหารคาว อาหารกล่อง อาหารแห้ง 2) ของหวาน ขนม เบเกอรี่ ผลไม้ และ 3) ของใช้สารพัดสิ่ง และงานบริการ ขอเชิญชวนผู้สนใจโครงการ สามารถเข้าร่วมกลุ่ม ตลาดออนไลน์ “มทร.อีสาน มาร์เก็ตเพลส” ได้ง่ายๆ เพียง ค้นหาคำว่า “มทร.อีสาน มาร์เก็ตเพลส” ผ่านทางเฟสบุ๊ก กดลิ๊งค์สมัครเข้าร่วมโครงการได้เลยครับ

อนึ่งมาตรการเยียวยาแก่นักศึกษา มทร.อีสาน มีดังนี้ 1. ด้านการชำระเงินค่าบำรุงการศึกษา ค่าลงทะเบียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา (ลดค่าบำรุงการศึกษา ค่าลงทะเบียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา 10% ในภาคการเรียนที่ 1/2563, ขยายระยะเวลาการชำระเงิน ภาคฤดูร้อน 2562 และ 1/2563 และขยายระยะเวลาชำระเงินค่าหอพัก) 2. ด้านการจัดการเรียนการสอน ใช้วิธีการสอนออนไลน์ RMUTI-LMS, Microsoft Team, Google Classroom และมีการสำรวจความพร้อมในการเรียนการสอนออนไลน์ของบุคลากรและนักศึกษา โดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. ด้านประกันสุขภาพ จัดทำประกันสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับการได้รับผลกระทบจากการรับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 4. จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

            นอกจากนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานทุกวิทยาเขต ได้แก่ ศูนย์กลางนครราชสีมา วิทยาเขตขอนแก่น วิทยาเขตสุรินทร์ วิทยาเขตสกลนคร และวิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ โดยสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา ยังได้ร่วมกันบริจาคกำลังทรัพย์และแรงกายในการผลิตอุปกรณ์ในการป้องกันการติดเชื้อแก่บุคลากรทางการแพทย์ และได้ส่งมอบให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ตลอดจนหน่วยงานราชการ เช่น สภากาชาด ศาลากลางจังหวัด สถานีตำรวจ ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก โดยอาศัยองค์ความรู้ทางช่างอุตสาหกรรม วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของบุคลากร มทร.อีสาน ครับ ผศ.ดร.ระบิล กล่าวทิ้งท้าย

Loading