มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดงานแถลงข่าวความสำเร็จเปิดตัว “แบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแร่เกลือหินในประเทศไทย” ภายใต้โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ในการดำเนินงานโครงการ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่15พฤศจิกายน2565 เวลา9:30 น.มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดงานแถลงข่าวความสำเร็จเปิดตัว “แบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแร่เกลือหินในประเทศไทย”ภายใต้โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพร่วมกับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ณ ห้องประชุมสารสิน อาคารสิริคุณากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุลอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นประธานในพิธี แถลงข่าวความสำเร็จในการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหิน ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมมไอออนต้นแบบผลิตได้เป็นที่แรกที่โรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นที่แรกในประเทศไทยและที่แรกในระดับภูมิภาคอาเซียน ดร. ธีรวุธ ตันนุกิจ ผู้แทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ร่วมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ท่ามกลางสื่อมวลชนและผู้สนใจร่วมงานแถลงข่าว
โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ เป็นกลไกลสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบให้สามารถผลิตวัตถุดิบคุณภาพสูง รองรับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่แห่งอนาคต ในการจัดงานครั้งนี้ มีสถานประกอบการในโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่ แห่งอนาคนแบบครบวงจรเข้าร่วมงานด้วย ไม่ว่าจะเป็นสถานประกอบการในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ประกอบด้วยโครงการเหมืองแร่โพแทชบริษัทไทยคาลิจำกัดและ บริษัทอาเซียนโปแตชชัยภูมิจำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าบริษัทวี.ซี.เอ็นเนอร์ยี่จำกัดผู้ผลิตและจำน่ายจักรยายนยนต์ไฟฟ้า บริษัทเอ็นเซิร์ฟโฮลดิ้งจำกัดบริษัทอินโนวาแพคจำกัดบริษัททีแอนด์ทีไมโครโมบิลจำกัด
รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง ผู้จัดการโครงการ และ ดร.ทรงยุทธ แก้วมาลา นักวิจัยพร้อมทีมวิจัย มข.ประสบความสำเร็จในการพัฒนาศึกษาวิจัยและทดลองแบตเตอรี่ชนิดโซเดียมไอออนจากแหล่งแร่เกลือหินในประเทศไทย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ทางเลือกโดยการใช้วัตถุดิบที่มีภายในประเทศทดแทนแบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน ทั้งนี้ได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ทางเลือกในระดับเซลล์จากโรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ จนออกมาเป็นผลิตต้นแบบ (Prototype)และนำไปทดลองใช้งานจริงในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ใหม่ และระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS) อาทิ แบตเตอรี่สำหรับจักรยานไฟฟ้า แบตเตอรี่สำรองสำหรับระบบโซลล่าเซลล์ และ ไฟส่องสว่าง
จากความสำเร็จเหล่านี้ส่งผลอุตสาหกรรมไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศซึ่งหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายหลักคืออุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่แห่งอนาคตจากวัตถุดิบที่มีในประเทศ
ผู้สนับสนุนแพลตฟอร์มข่าว/สนใจลงโฆษณาติดต่อ นิตยา สุวรรณสิทธิ์ -0628929797 >