สนพ. เผยการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ของประเทศต่างๆ ซาอุดิอาระเบียและโอเปกพลัส ประกาศลดกำลังการผลิตเพิ่มเติม นักลงทุนขานรับมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น
นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เปิดเผยว่า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก ช่วงวันที่ 11 -17 พฤษภาคม 2563 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์เท็กซัส เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ $28.47 และ $26.44 ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว $2.71 และ $2.99 ต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยซาอุดิอาระเบีย ปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบในเดือน มิ.ย. ลงราว 5 ล้านบาร์เรล/วัน โอเปกพลัสและประเทศอื่นๆ พร้อมใจปรับลดกำลังการผลิต คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น จากรัฐบาลในประเทศต่างๆ เริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งคาดว่าจะช่วยหนุนความต้องการใช้น้ำมัน ประกอบกับนักลงทุนขานรับมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจทั่วโลก
ราคาน้ำมันโลก: ราคาน้ำมันดิบราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์เท็กซัส เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ $28.47 และ $26.44 ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว $2.71 และ $2.99 ต่อบาร์เรล ตามลำดับ• ความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น จากมาตรการผ่อนคลายการปิดเมืองของหลายประเทศทั่วโลก โดยรายงานประจำเดือนของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดการณ์การเติบโตของความต้องการใช้น้ำมันในปี 63 จะหดตัวที่ 8.6 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งปรับสูงขึ้นจากคาดการณ์เดิม 690,000 บาร์เรล/วัน• สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 8 พ.ค. 63 ปรับลดลง 745,000 บาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าเพิ่มขึ้น 4.1 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 15 สัปดาห์ หลังเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19• ซาอุฯ ปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบในเดือน มิ.ย. ลงราว 5 ล้านบาร์เรล/วัน อย่างไรก็ตามกลุ่มโอเปกคาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันโลกในปี 63 จะลดลงราว 9.07 ล้านบาร์เรล/วัน มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า 6.85 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งความต้องการใช้น้ำมันคาดว่าจะลดลงต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้• ปริมาณการใช้น้ำมันดิบของจีนในเดือน เม.ย. 63 ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังความต้องการใช้น้ำมันในประเทศปรับตัวสูงขึ้น จากมาตรการผ่อนคลายการปิดเมือง
ราคากลางน้ำมันสำเร็จรูปตลาดภูมิภาคเอเซียน้ำมันเบนซิน: ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และ 92 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ $32.05 และ $29.31 ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว $4.71 และ $3.92 ต่อบาร์เรล ตามลำดับ• ความต้องการใช้น้ำมันเบนซินปรับตัวสูงขึ้น หลังหลายประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง ทำให้มีการขับขี่มากขึ้น• International Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ที่สิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุด 13 พ.ค. 63 ลดลง 0.97 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 15.37 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบกว่า 1 เดือน• EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 พ.ค. 63 ลดลง 3.5 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 252.9 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 1 เดือน• Insights Global รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในยุโรป ที่ Amsterdam-Rotterdam-Antwerp (ARA) สัปดาห์สิ้นสุด 14 พ.ค. 63 ลดลง 0.63 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 10.97 ล้านบาร์เรลน้ำมันดีเซล: ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (10 PPM) เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ $33.34 ต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว $1.61 ต่อบาร์เรล• ปัจจัยสนับสนุนจากการคลายมาตรการปิดเมืองในหลายประเทศ และอุปทานที่ลดลงจากการลดกำลังการผลิตและการปิดซ่อมบำรุงตามแผนของโรงกลั่นหลายแห่งในภูมิภาค• Platts ประเมินอุปทานน้ำมันดีเซล 0.05%S ในเอเชียเหนือ จะลดลงในเดือน มิ.ย. 63 ทำให้มีแนวโน้มตึงตัวมากกว่าน้ำมันดีเซล 0.001%Sค่าเงินบาทค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.26 บาท/เหรียญสหรัฐฯ มาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 32.2835 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ต้นทุนน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 0.91 บาท/ลิตร ในขณะที่ต้นทุนน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 0.28 บาท/ลิตร ทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 1.93 บาท/ลิตร และค่าการกลั่น เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 0.47 บาท/ลิตร
ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง• ณ วันที่ 17 พ.ค. 63 กองทุนน้ำมันมีสินทรัพย์รวม 57,198 ล้านบาท หนี้สินกองทุน 22,022 ล้านบาท• ฐานะกองทุนน้ำมันสุทธิ 35,176 ล้านบาท แยกเป็นo บัญชีน้ำมัน 41,358 ล้านบาทo บัญชี LPG -6,182 ล้านบาท
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากรัฐบาลในประเทศต่างๆ เริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งคาดว่าจะช่วยหนุนความต้องการใช้น้ำมัน นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้แรงหนุนจากการที่ซาอุดิอาระเบียประกาศลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมอีก 1 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือน มิ.ย. นอกเหนือจากที่ได้ปรับลดกำลังการผลิตตามข้อตกลงของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ขณะที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ต่างแสดงท่าทีพร้อมลดปริมาณการผลิตอย่างเร่งด่วน ประกอบกับนักลงทุนขานรับมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจทั่วโลก ที่ถูกผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท กล่าวทิ้งท้าย